1 จงอธิบายลำดับ โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) จากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
คือ รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น เขตข้อมูล(Field), แถวลำดับ(Array), ระเบียน(Record), ต้นไม้(Tree), ลิงค์ลิสต์(Link List) เป็นต้น
คือ รูปแบบวิธีการจัดระเบียบของข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทางคณิตศาสตร์(Operations) เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้
คือ การรวบรวมข้อมูลเป็นกลุ่มอย่างมีรูปแบบ เพื่อให้การนำข้อมูลกลับมาใช้ หรือประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยขั้นตอนวิธีที่หลากหลาย แล้วนำเสนอได้อย่างถูกต้องรวดเร็วตามลักษณะงานที่ต้องการ
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
- บิท (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และใช้งานได้ ได้แก่ 0 หรือ 1
- ไบท์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) คือ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จำนวน 1 ตัว
- ฟิลด์ (Field) หรือ เขตข้อมูล คือ ไบท์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว หรือ ชื่อพนักงาน
- เรคคอร์ด (Record) หรือระเบียน คือ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมารวมกัน
- ไฟล์ (File) หรือ แฟ้มข้อมูล คือ หลายเรคคอร์ดมารวมกัน เช่น ข้อมูลที่อยู่นักเรียนมารวมกัน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ หลายไฟล์ข้อมูลมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลนักเรียนมารวมกันในงานทะเบียน แล้วรวมกับไฟล์การเงิน
1. phrase "a picture is worth a thousand words"
2. โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยแบบของข้อมูลเบื้องต้น คือ 1)บิท(Binary) 2)อักขระ(Character) 3)ฟิลด์(Field) 4)เรคอร์ด(Record) 5)ไฟล์(File) 6)ฐานข้อมูล(Database)
3. วิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) คือ การแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นส่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาแต่ละส่วน
4. อัลกอริทึม (Algorithm) (มีความเป็นนามธรรมอยู่ในตัวเป็นธรรมชาติ)
คือ กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหา
คือ ขั้นตอนวิธีที่ประกอ้บด้วยชุดคำสั่งเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ
คือ รูปแบบของการกำหนดการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และแยกแยะ เพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามลำดับขั้น อาจเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความถนัด เพื่อนำเสนอขั้นตอนของกิจกรรมก็ได้
5. รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code)
คือ รหัสจำลองที่ใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึม โดยมีถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ใดภาษาหนึ่ง
คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ง่าย อาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนและกิจกรรมที่จะนำเสนอ มักใช้รูปแบบคล้ายประโยคภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม
6. ผังงาน (Flowchart)
คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่า
คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความ ทำได้ยากกว่า
7. การโปรแกรมโครงสร้าง (Structured Programming) คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) 2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision หรือ Selection) และ 3)การทำงานแบบทำงานซ้ำ (Repetition หรือ Iteration หรือ Loop)
8. อาร์เรย์ (Array)
คือ ชุดของข้อมูลในชื่อเดียวกันที่มีได้หลายสมาชิก โดยสมาชิกถูกจัดเรียงเป็นลำดับ และมีรูปแบบเป็นแบบใดแบบหนึ่ง
คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวกันแทนข้อมูลสมาชิกได้หลาย ๆ ตัวในคราวเดียวกัน ด้วยการใช้เลขดรรชนี (Index) หรือซับสคริปต์ (Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกบนแถวลำดับนั้น ๆ
9. โอเปอเรชั่น (Operation) คือ การกระทำที่สามารถทำกับโครงสร้างนั้น เช่น โอเปอเรชั่นของอาร์เรย์ ได้แก่ 1)การท่องเข้าไป (Traversal) 2)การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ(Searching) 3)การแทรกข้อมูลใหม่(Insertion) 4)การลบข้อมูล (Deletion) 5)การเรียงกลับหลัง(Reversing) 6)การเรียงลำดับ(Sorting)
10. นามธรรม (Abstract) คือ เป็นแนวทางพื้นฐานของมนุษย์ที่ใช้จัดการกับความซับซ้อน (Grady Booch) โดยเรื่องราวของนวนิยายเป็นจินตนาการในหัวของผู้เขียนถือเป็นนามธรรม เมื่อถ่ายทอดผ่านตัวแทน (Representation) ทางหนังสือด้วยภาษาต่าง ๆ ก็จะออกมาเป็นรูปธรรม ดังนั้นการเขียนโปรแกรมต้องเริ่มต้นด้วยนามธรรม หรือจินตนาการจัดการความซับซ้อนก่อนนำเสนอเป็นรูปธรรม เพื่อประมวลผล
11. ชนิดข้อมูลนามธรรม (Abstract Data Type) คือ เครื่องมือกำหนดโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบด้วยชนิดของโครงสร้างข้อมูล รูปแบบการดำเนินการ หรือแยกได้ 3 ส่วนคือ รูปแบบข้อมูล (Element) โครงสร้าง (Structure) และ การดำเนินการ (Operations) โปรแกรม (Program) คือ ตัวแทนของอัลกอริทึม
12. โปรเซส (Process) คือ กิจกรรมที่ประมวลผลตามขั้นตอนของอัลกอริทึม
2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบตซ์และแบบเรียลไทม์
1. วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง
· ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง
· ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ
- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
-งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
รูปแสดงการประมวลผลแบบแบทซ์
2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ แนวความคิดของการประมวลแบบ ออนไลน์ (On-Line Processing) มาจากข้อเท็จ จริงที่ว่า หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยรับและแสดงผล จึงมีผู้คิดนำเครื่องเทอร์มินัลมาใช้ในการรับและแสดงผลข้อมูลโดยใช้เชื่อมโยงเข้าหับหน่วยประมวลผลกลาง ทำให้การป้อนข้อมูลไม่ต้องบันทึกสื่อข้อมูล สามารถส่งเข้าประมวลผลโดยตรงและผลลัพธ์แสดงผ่านเครื่องเทอร์มินัลได้โดยตรงเช่นกัน การประมวลผลแบบออนไลน์-ไลน์ แบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
- ระบบไทม์-แชริง (Time-Sharing) เป็นระบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านเทอร์มินัลจากหลายงาน ผู้ใช้จึงมีชุดคำสั่งของตนเองส่งเข้าไปในเครื่องในเวลาเดียวกับผู้ใช้รายอื่นได้ วิธีการนี้จึงดูเหมือนว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นเจ้า ของคอมพิวเตอร์เอง
- ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแกรมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
· งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
· งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
· งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
· งานที่ต้องการความรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น